วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันสุนทรภู่




                                กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันสุนทรภู่
                                                                                                                                                       
             1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
             2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
             3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถาม

                 เกี่ยวกับและผลงานของสุนทรภู่

                                                                         ภาพกิจกรรมในวันสุนทรภู่



ที่มาของวันสุนทรภู่





                 ที่มาของวันสุนทรภู่
        รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป 

          ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง 

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทเห่กล่อม




                                                        บทเห่กล่อม
                                         
                              ๑. เห่เรื่องจับระบำ
                              ๒. เห่เรื่องกากี
                              ๓. เห่เรื่องพระอภัยมณี
                              ๔. เห่เรื่องโคบุตร




เห่เรื่องพระอภัยมณี เป็นบทเห่กล่อมพระบรรทมที่ประพันธ์โดยสุนทรภู่ มีทั้งสิ้น ๘ ช่วง แต่ละช่วงนำมาจากเรื่องราวบางตอนของเรื่องพระอภัยมณี ได้แก่
ช่วงที่ ๑ ตอนรำพันรักและศรีสุวรรณชมโฉมนางเกษรา
ช่วงที่ ๒ ตอนนางสุวรรณมาลีบวช โดยมีสินสมุทร และอรุณรัศมีบวชตามมาอยู่ด้วย
ช่วงที่ ๓ แยกบทเห่กล่าวถึงตัวนางสุวรรณมาลี
ช่วงที่ ๔ แยกบทเห่กล่าวถึงตัวสินสมุทรและอรุณรัศมี
ช่วงที่ ๕ ตอนนางละเวงเดินไพร ควบม้าหนีพระอภัย
ช่วงที่ ๖ ตอนพระอภัยติดท้ายรถนางละเวงและพยายามตามเกี้ยว
ช่วงที่ ๗ แยกบทเห่กล่าวถึงพระอภัยมณี พยายามเข้าพบนางละเวง
ช่วงที่ ๘ นางละเวงใจอ่อน และบทเห่นางสุลาลีวัน ยั่วเย้าและเอาใจช่วยพระอภัย











บทเสภา




                                                                            บทเสภา
                                   

             ๑. เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม
                  แต่งในรัชกาลที่ ๒
                                                                                          
            ๒. เรื่องพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔





                            ตัวอย่างบทกลอนที่ไพเราะ

                                                       เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

                      ดูครึ้มครึกพฤกษาป่าสงัด                    ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว
            จังหรีดร้องก้องเสียงเคียงเรไร                       ทั้งลองไนเรื่อยแร่แวแววับ
            ดุเหว่าร้องมองเมียงเสียงว่าแม่                      ยืนชะแง้แลดูเงี่ยหูตรับ
             อยู่นี่แน่แม่จ๋าจงมารับ                                   วิ่งกระสับกระสนวนเวียนไป



                     เป็นบทกลอนที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ    ธรรมชาติ และสะท้อนให้เห็นภาพพรายงามได้ยินเสียงนกดุเหว่าจึงเฝ้ามองเมียงชะแง้แลดูและคอยฟังว่าใช้แม่หรือไม่ซึ่งลักษณะบทกลอนมีความไพเราะและงดงามด้านการสัมผัส ทั้งการสัมผัสสระและการสัมผัสยัญชนะ




บทละคร



                                      บทละคร 

๑ .  บทละครเรื่องพระเจ้าอภัยนุราช

       ตัวอย่างบทละครเรื่องพระเจ้าอภัยนุราช



      ช่วงเวลาที่แต่ง    รัชสมัย รัชกาลที่ ๔
      ผู้แต่ง     สุนทรภู่
      จุดมุ่งหมาย   ถวายพระองค์เจ้าดวงประภา  พระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะการแต่ง   กลอนบทละคร
เนื้อหาสาระ
                พระเจ้าอภัยนุราช  ษัตริย์เมืองรมเยศ  มีพระมเหสีพระนามว่า  ทิพมาลี  และพระโอรสพระนามว่า  พระอนันต์  พระธิดาพระนามว่า  วรรณนา
                 พระเจ้าอภัยนุราชไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม  วันหนึ่งเมื่อเสด็จประพาสป่าได้เผาศาลเทพารักษ์   เทพารักษ์พิโรธ  จึงเข้าสิงนางศรีสาหงหญิงอัปลักษณ์  แล้วทำอุบายให้พระอภัยนุราชหลงใหล
                 พระเจ้าอภัยนุราชตกอยู่ในความลุ่มหลงอย่างรุนแรง  ถึงขนาดควักลูกตารมเหสีตามความประสงค์ของนางศรีหงสา  ไม่รู้จักถูกผิด  ผลสุดท้ายพระเจ้าอภัยนุราชได้ครองราชสมบัติกับนางศรีหงสา


บทสุภาษิต




                                      สุภาษิต

           ๑. สวัสดิรักษา แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๔-๗

          ๒. เพลงยาวถวายโอวาท แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓ 
                                                
          ๓. สุภาษิตสอนหญิง แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๘๓

              ตัวอย่างบทสุภาษิต

                                                                  สุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ 

                             ขอเจริญพรเรื่องตํารับฉบับสอน 
                  ชาวประชาราษฎรสิ้นทั้งหลาย 
                  อันความชั่วอย่าให้มั่วมีระคาย 
                  จะสืบสายสุริย์วงศ์เป็นมงคล 

                            ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์ 
                 บํารุงรักกายไว้ให้เป็นผล 
                 สงวนนามตามระบอบให้ชอบกล 
                 จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา 

                          เป็นสาวแซ่แร่สวยรวยสะอาด 
               ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า 
               แม้นแตกร้าวรานร่อยถอยราคา 
               จะพลอยพาลหอมหายจากกายนาง 

                         อันตัวตํ่าแล้วอย่าทําให้กายสูง 
                ดูเยี่ยงยูงแววยังมีที่วงหาง 
                ค่อยเหงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง 
                ให้ต้องอย่างกิริยาเป็นนารี ฯ 

                           จะนุ่งห่มดูพอสมศักดิ์สงวน 
               ไม่สมควรรับพักตร์ตามศักดิ์ศรี 
               จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์ 
              ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน 

                          จะเก็บไรไว้ผมให้สมพักตร์ 
              บํารุงศักดิ์ตามศรีมิให้เขิน 
              เป็นสุภาพราบเรียบแลเจริญ 
              คงมีผู้สรรเสริญอนงค์ทรง 

                         ใครเห็นต้องนิยมชมไม่ขาด 
             ว่าฉลาดแต่ร่างเหมือนอย่างหงส์ 
             มีรูปงามทรามสงวนนวลอนงค์ 
             ไม่รู้จักแต่งทรงก็เสียงาม                                                                   

    

ประเภทนิทาน



นิทาน


        ๑. เรื่องโคบุตร แต่งในราวรัชกาลที่ ๑
       ๒. เรื่องพระอภัยมณี แต่งในราวรัชกาลที่ ๒-๓
       ๓. เรื่องพระไชยสุริยา แต่งในราวรัชกาลที่ ๓
       ๔. เรื่องลักษณวงศ์ (มีสำนวนผู้อื่นแต่งต่อ และไม่ทราบเวลาแต่ง)
       ๕. เรื่องสิงหไตรภพ แต่งในราวรัชกาลที่ ๒


เรื่องย่อพระอภัยมณี


         พระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่นๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น เขากับน้องชายคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป มีบุตรชายชื่อสินสมุทร พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เขามีบุตรกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย



วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่



พระสุนทรโวหาร
พระสุนทรโวหาร

ผลงานของสุนทรภู่
  
       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้แต่งประวัติสุนทรภู่โดยพิสดารไว้ กล่าวว่า ได้ทรงค้นพบมี ประมาณ ๒๔ เรื่อง โดยแยกประเภทดังนี้
นิราศ ๙ เรื่อง
  
       นิราศ คือ บทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทาง ด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้าง ลำบากและใช้เวลานาน นักเดินทางจึงแก้ความเหงาเบื่อด้วยการประพันธ์บทกวี พรรณนาถึงการเดินทาง และสภาพภูมิประเทศ โดยมากมักโยงเข้ากับความรัก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายที่มาของนิราศไว้ ดังนี้: "หนังสือจำพวกที่เรียกว่านิราศ เป็นบทกลอนแต่งเวลาไปทางไกล มูลเหตุจะเกิดหนังสือชนิดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะเวลาเดินทาง ที่มักต้องไปเรือหลายๆ วันมีเวลาว่างมาก ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ไป จนเกิดเบื่อ ก็ต้องคิดหาอะไรทำแก้รำคาญ ผู้สันทัดในทางวรรณคดี จึงแก้รำคาญโดยทางกระบวนคิดแต่ง บทกลอน บทกลอนแต่งในเวลาเดินทางเช่นนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะพรรณนาว่าด้วยสิ่งซึ่งได้พบเห็นในระยะ ทาง แต่มักแต่งประกอบกับครวญคิดถึงคู่รักซึ่งต้องพรากทิ้งไว้ทางบ้านเรือน กระบวนความในหนังสือนิราศ จึงเป็นทำนองอย่างว่านี้ทั้งนั้น ชอบแต่งกันมาแต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์...นิราศที่แต่งกันในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งทั้งเป็นโคลงแลเป็นกลอนสุภาพ ดูเหมือนกวีที่แต่งนิราศ
       ในครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จะถือคติต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือคติเดิมว่า โคลงฉันท์เป็นของสำคัญ และแต่งยากกว่ากลอน กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นโคลงตามเยี่ยงอย่างศรีปราชญ์ทั้งนั้น กวีอีกพวกหนึ่งชอบ เพลงยาว อย่างเช่นเล่นกันเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น ถ้าว่าเฉพาะที่เป็นกวีคนสำคัญในพวกหลังนี้ คือสุนทรภู่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพมากเรื่องกว่าใครๆ หมด กลอนของ สุนทรภู่คนชอบอ่านกันแพร่หลาย ก็ถือเอานิราศของสุนทรภู่เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕" นิราศของสุนทรภู่ นอกจากจะพรรณนาการเดินทางแล้ว ท่านยังสอดแทรกคติธรรม ข้อเตือนใจต่างๆ และเปรียบเทียบถึงชีวิตของตัวท่านเองเข้าไว้ด้วย ทำให้นักศึกษางานของท่านสืบเสาะประวัติของท่านจาก งานนิพนธ์ของท่านเองได้มาก ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศไว้มาก
        แต่เท่าที่พบในปัจจุบันมี ๘ เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ส่วน รำพันพิลาป ก็มีเนื้อความรำพึงรำพันทำนองเดียวกับนิราศ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านสุนทรภู่เป็น ส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระนั้น ท่านได้ธุดงค์ไปทั่ว จึงเชื่อว่ายังมีนิราศ เรื่องอื่นของท่านที่ยังมิได้ค้นพบ หรืออาจไม่มีวันค้นพบก็ได้ เพราะต้นฉบับอาจถูกทำลายไปเสียแล้วเมื่อ ครั้งปลวกขึ้นกุฏิของท่านที่วัดเทพธิดารามรำพันพิลาป
กุฎิสุนทรภู่
        ปี พ.ศ.๒๓๘๕ พระสุนทรภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านได้ประพันธ์บทกลอนเชิงนิราศเรื่อง "รำพันพิลาป"ขึ้น เนื่องจากเกิดนิมิตฝันอันเป็นลางร้าย ว่าจะต้องถึงแก่ชีวิต ในฝันนั้นท่านว่าได้พบเห็นนางฟ้านางสวรรค์มากมาย รวมถึงนางมณีเมขลา มาชักชวนให้ท่านละชมพูทวีป แล้วไปอยู่สวรรค์ด้วยกัน เรื่องนางสวรรค์นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าน่าจะหมายถึง กรมหมื่นฯ อัปสรสุดาเทพ นัยว่าท่านสุนทรภู่มีจิตพิศวาสอยู่ จะเป็นจริงเช่นไร ท่านผู้อ่านต้องลองอ่านบทกลอนของท่านสุนทรภู่เอง สำหรับข้าพเจ้าเองเห็นว่า น่าจะหมายถึงนางฟ้าจริงๆ มิได้มีความหมายอื่น
        ด้วยท่อนหนึ่งในนิราศบทนี้ ท่านยังอ้อนวอนนางมณีเมขลา ว่าให้แก้วแล้ว ขอประโยชน์โพธิญาณถึงพระนิพพานเถิด เช่นเดียวกับที่ท่านได้เคยแสดงความปรารถนาพุทธภูมิไว้ในนิราศหลายๆ เรื่องการเกิดฝันเช่นนี้ เมื่อท่านตื่นขึ้นจึงได้รีบแต่ง "รำพันพิลาป" นี้ขึ้น แสดงความในใจและประวัติชีวิตของท่านในหลายๆ ส่วน รวมถึงประเพณีเทศกาลต่างๆ ที่ได้ประสบพบผ่านมา ซึ่งในส่วนนี้เองทำให้เราทราบว่า ยังมีนิราศของท่านอีกหลายเรื่องที่ท่านแต่งไว้ 12 แต่เรายังไม่มีโอกาสได้อ่าน เพราะปลวกขึ้นกุฏิของท่าน ทำให้ต้นฉบับบทกลอนที่มีค่ายิ่งสูญสลายไปอย่างน่าเสียดาย เว้นเสียแต่จะมีผู้พบต้นฉบับคัดลอกจากที่อื่นเมื่อข้าพเจ้าอ่าน "รำพันพิลาป" จบ
        ข้าพเจ้าอยากให้ผู้คนทั้งหลายที่เคยคิดว่าสุนทรภู่เป็นคนเจ้าชู้ สุนทรภู่เป็นคนขี้เมา ได้มาอ่านนิราศเรื่องนี้ด้วย ตลอดช่วงชีวิต ๖๙ ปีของท่าน ได้มีห้วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ เมื่อครั้งรับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพียง ๘ ปี ช่วงเวลาที่เหลือในชีวิตของท่านเป็นเช่นไร ขอท่านได้โปรดอ่าน "รำพันพิลาป" จนจบ และตรองดูเถิด