วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันสุนทรภู่




                                กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันสุนทรภู่
                                                                                                                                                       
             1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
             2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
             3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถาม

                 เกี่ยวกับและผลงานของสุนทรภู่

                                                                         ภาพกิจกรรมในวันสุนทรภู่



ที่มาของวันสุนทรภู่





                 ที่มาของวันสุนทรภู่
        รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป 

          ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง 

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทเห่กล่อม




                                                        บทเห่กล่อม
                                         
                              ๑. เห่เรื่องจับระบำ
                              ๒. เห่เรื่องกากี
                              ๓. เห่เรื่องพระอภัยมณี
                              ๔. เห่เรื่องโคบุตร




เห่เรื่องพระอภัยมณี เป็นบทเห่กล่อมพระบรรทมที่ประพันธ์โดยสุนทรภู่ มีทั้งสิ้น ๘ ช่วง แต่ละช่วงนำมาจากเรื่องราวบางตอนของเรื่องพระอภัยมณี ได้แก่
ช่วงที่ ๑ ตอนรำพันรักและศรีสุวรรณชมโฉมนางเกษรา
ช่วงที่ ๒ ตอนนางสุวรรณมาลีบวช โดยมีสินสมุทร และอรุณรัศมีบวชตามมาอยู่ด้วย
ช่วงที่ ๓ แยกบทเห่กล่าวถึงตัวนางสุวรรณมาลี
ช่วงที่ ๔ แยกบทเห่กล่าวถึงตัวสินสมุทรและอรุณรัศมี
ช่วงที่ ๕ ตอนนางละเวงเดินไพร ควบม้าหนีพระอภัย
ช่วงที่ ๖ ตอนพระอภัยติดท้ายรถนางละเวงและพยายามตามเกี้ยว
ช่วงที่ ๗ แยกบทเห่กล่าวถึงพระอภัยมณี พยายามเข้าพบนางละเวง
ช่วงที่ ๘ นางละเวงใจอ่อน และบทเห่นางสุลาลีวัน ยั่วเย้าและเอาใจช่วยพระอภัย











บทเสภา




                                                                            บทเสภา
                                   

             ๑. เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม
                  แต่งในรัชกาลที่ ๒
                                                                                          
            ๒. เรื่องพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔





                            ตัวอย่างบทกลอนที่ไพเราะ

                                                       เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

                      ดูครึ้มครึกพฤกษาป่าสงัด                    ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว
            จังหรีดร้องก้องเสียงเคียงเรไร                       ทั้งลองไนเรื่อยแร่แวแววับ
            ดุเหว่าร้องมองเมียงเสียงว่าแม่                      ยืนชะแง้แลดูเงี่ยหูตรับ
             อยู่นี่แน่แม่จ๋าจงมารับ                                   วิ่งกระสับกระสนวนเวียนไป



                     เป็นบทกลอนที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ    ธรรมชาติ และสะท้อนให้เห็นภาพพรายงามได้ยินเสียงนกดุเหว่าจึงเฝ้ามองเมียงชะแง้แลดูและคอยฟังว่าใช้แม่หรือไม่ซึ่งลักษณะบทกลอนมีความไพเราะและงดงามด้านการสัมผัส ทั้งการสัมผัสสระและการสัมผัสยัญชนะ




บทละคร



                                      บทละคร 

๑ .  บทละครเรื่องพระเจ้าอภัยนุราช

       ตัวอย่างบทละครเรื่องพระเจ้าอภัยนุราช



      ช่วงเวลาที่แต่ง    รัชสมัย รัชกาลที่ ๔
      ผู้แต่ง     สุนทรภู่
      จุดมุ่งหมาย   ถวายพระองค์เจ้าดวงประภา  พระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะการแต่ง   กลอนบทละคร
เนื้อหาสาระ
                พระเจ้าอภัยนุราช  ษัตริย์เมืองรมเยศ  มีพระมเหสีพระนามว่า  ทิพมาลี  และพระโอรสพระนามว่า  พระอนันต์  พระธิดาพระนามว่า  วรรณนา
                 พระเจ้าอภัยนุราชไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม  วันหนึ่งเมื่อเสด็จประพาสป่าได้เผาศาลเทพารักษ์   เทพารักษ์พิโรธ  จึงเข้าสิงนางศรีสาหงหญิงอัปลักษณ์  แล้วทำอุบายให้พระอภัยนุราชหลงใหล
                 พระเจ้าอภัยนุราชตกอยู่ในความลุ่มหลงอย่างรุนแรง  ถึงขนาดควักลูกตารมเหสีตามความประสงค์ของนางศรีหงสา  ไม่รู้จักถูกผิด  ผลสุดท้ายพระเจ้าอภัยนุราชได้ครองราชสมบัติกับนางศรีหงสา


บทสุภาษิต




                                      สุภาษิต

           ๑. สวัสดิรักษา แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๔-๗

          ๒. เพลงยาวถวายโอวาท แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓ 
                                                
          ๓. สุภาษิตสอนหญิง แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๘๓

              ตัวอย่างบทสุภาษิต

                                                                  สุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ 

                             ขอเจริญพรเรื่องตํารับฉบับสอน 
                  ชาวประชาราษฎรสิ้นทั้งหลาย 
                  อันความชั่วอย่าให้มั่วมีระคาย 
                  จะสืบสายสุริย์วงศ์เป็นมงคล 

                            ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์ 
                 บํารุงรักกายไว้ให้เป็นผล 
                 สงวนนามตามระบอบให้ชอบกล 
                 จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา 

                          เป็นสาวแซ่แร่สวยรวยสะอาด 
               ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า 
               แม้นแตกร้าวรานร่อยถอยราคา 
               จะพลอยพาลหอมหายจากกายนาง 

                         อันตัวตํ่าแล้วอย่าทําให้กายสูง 
                ดูเยี่ยงยูงแววยังมีที่วงหาง 
                ค่อยเหงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง 
                ให้ต้องอย่างกิริยาเป็นนารี ฯ 

                           จะนุ่งห่มดูพอสมศักดิ์สงวน 
               ไม่สมควรรับพักตร์ตามศักดิ์ศรี 
               จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์ 
              ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน 

                          จะเก็บไรไว้ผมให้สมพักตร์ 
              บํารุงศักดิ์ตามศรีมิให้เขิน 
              เป็นสุภาพราบเรียบแลเจริญ 
              คงมีผู้สรรเสริญอนงค์ทรง 

                         ใครเห็นต้องนิยมชมไม่ขาด 
             ว่าฉลาดแต่ร่างเหมือนอย่างหงส์ 
             มีรูปงามทรามสงวนนวลอนงค์ 
             ไม่รู้จักแต่งทรงก็เสียงาม                                                                   

    

ประเภทนิทาน



นิทาน


        ๑. เรื่องโคบุตร แต่งในราวรัชกาลที่ ๑
       ๒. เรื่องพระอภัยมณี แต่งในราวรัชกาลที่ ๒-๓
       ๓. เรื่องพระไชยสุริยา แต่งในราวรัชกาลที่ ๓
       ๔. เรื่องลักษณวงศ์ (มีสำนวนผู้อื่นแต่งต่อ และไม่ทราบเวลาแต่ง)
       ๕. เรื่องสิงหไตรภพ แต่งในราวรัชกาลที่ ๒


เรื่องย่อพระอภัยมณี


         พระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่นๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น เขากับน้องชายคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป มีบุตรชายชื่อสินสมุทร พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เขามีบุตรกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย